Thailand 4.0 , Industry 4.0 แต่ Mindset พร้อมแล้วหรือยัง ?

บทความนี้ ขอสรุปก่อนเสนอเนื้อหาและที่มา มันเป็นไปได้ยากนะครับไม่ว่าจะเป็น Thailand  4.0 Digital Economy  หรือ Digital System ต่างๆ   เพราะการเปลี่ยนจาก Analog สู่ Digital นั้นต้องปรับโดยเริ่มเปลี่ยน ที่ Mindset (ทัศนคติ วิธีคิดและความเชื่อ)   ถ้าพูดถึงแต่ (Bla Bla) 4.0 โดยไม่พูดถึง Mindset แล้ว ขอย้ำอีกว่ามันเป็นไปไม่ได้  เหตุเพราะเราจะหวังผลลัพธ์ใหม่ๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ นั้น จะเป็นไปได้อย่างไรครับ  ถามว่าทำไมต้องปรับตัว  เวลาคุณลงเล่นน้ำทะเลแล้วเจอคลื่นโถมเข้าหา คุณจะยืนเฉยๆ หรือพยายามปรับตัวไม่ให้โดนคลื่นกระแทก คำตอบก็แบบนั้นล่ะครับ  (ผมจงใจยกตัวอย่างคลื่นเพราะจะโยงเข้าไปหา  The third Wave ซึ่งกำลังจะเขียนบทความต่อไป)   ดูง่ายๆ ว่า ขนาด Microsoft ยังปรับตัวเลย นับประสาอะไร  ในยุคนี้ถ้าไม่ปรับตัว แค่ยืนอยู่เฉยๆ คุณก็ถอยหลังแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนไปทุกวัน

สิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับงานด้าน IT  หลายๆบริษัท อาจจะคุ้นเคยกับการ Support IT ในแบบที่ให้เดินทางไปทำงานถึงหน้าจอ สิ่งนี้ต้องปรับเปลี่ยนเป็น Remote Support  ซึ่ง รวดเร็วและง่าย มีความปลอดภัย  แทบไม่น่าเชื่อว่าถึงวันนี้แล้วยังมีบางบริษัทฯ ยังต้องการ Support IT ในแบบที่ให้เดินทางไปทำงานถึงหน้าจอของเขา ทั้งๆที่ Internet Speed ในวันนี้การตอบสนองไม่ต่างอะไรกับไปนั่งหน้าคอมพิวเตอร์แล้ว  , โปรแกรม Remote , ความปลอดภัยเชื่อถือได้

การที่ผมทำงานด้าน IT support ,Networking , Web Application  ได้เห็นความหลากหลายของลูกค้า เยอะพอควร  เช่น มีลูกค้าบริษัทฯ หนึ่ง ประกอบธุรกิจด้าน รับ ส่ง สินค้าไปต่างประเทศ ยังคิดว่าการมีการ IT Support คือการใช้บริการให้คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย กลับกลายเป็นแนวคิดแบบ industry 2.0 คือเน้นที่ปริมาณ ความคุ้มค่า เช่น อยากให้ IT Support มาประจำอยู่ในบริษัทฯ ,ยิ่งเรียกใช้บริการมากยิ่งคุ้มค่า  แต่ความจริงก็คือการที่ IT support วางระบบที่ดีทำให้เกิดปัญหาน้อย เวลาที่สูญเสียไปในการทำงานน้อยลง และเรียกใช้บริการน้อยลง นั่นต่างหากที่ควรจะเป็น

ในอีกด้านหนึ่งผมมีลูกค้าด้านจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ประมูลงานราชการ และลูกค้าเองก็เน้นการใช้อุปกรณ์แบบทั่วๆไป แต่สามารถทำงานได้ทุกที่  พนักงานต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  มี Server เก็บข้อมูล สามารถให้บริการ IT Support ได้ถึง 3 สาขา ในเวลาเพียงไม่กี่นาที  นี่เป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้  ให้สอดคล้องกับ Thailand 4.0 จริงๆแล้วบริษัทฯแรกนั้นควรจะก้าวไป 4.0 ก่อน แต่กลายเป็นว่า บริษัทฯที่สองที่ก้าวไปก่อน นั่นแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ Mindset หรือ วิธีคิด ที่ต่างกัน  ทำอย่างไรถึงเปลียน Mindset และ ควรเป็น Mindset แบบไหนลองดูเรื่อง Growth Mindset นะครับ (ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ต่อบทความจะยาวไป) แล้วใครจะเป็นคนทำเรื่องนี้ ? ก็ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนไงครับ ต้องเริ่มได้แล้ว

ทีนี้ที่ผมเริ่มหัวข้อบทความที่ทราบกันดีแล้ว Thaialnd 4.0 ที่พูดถึงกันในบริบทต่างๆ  เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิม Thailand 1.0-3.0 ซึ่งติดกับดักประเทศรายได้  ปานกลาง หรือ Middle Income Trap คือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยโดยเฉลี่ยไม่เคยเกิน 3.5% ฉะนั้น นโยบาย Thailand 4.0 ก็เพื่อที่จะก้าวข้ามกับดัก  ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม  และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับระบบอุตสาหกรรมของโลกซึ่งเริ่มเข้าสู่ยุค Industrial 4.0 แล้ว

Industry 4.0 คือ

Industry 1.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เพราะมีการค้นพบเครื่องจักรไอน้ำเครื่องแรกของโลก ทดแทนการใช้แรงงานคน สัตว์ เกิดเครื่องจักรกลไอน้ำในระบบการผลิต เกิดการผลิตรถไฟ เรือกลไฟใช้ เกิดการเดินทางและการพัฒนาจากในเมืองไปสู่ชนบท

Industry 2.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เพราะมีการค้นพบไฟฟ้าครั้งแรกของโลก ทดแทนการใช้เครื่องจักไอน้ำลดการใช้ถ่านหิน การผลิตทำได้เยอะขึ้นกว่าเดิมมากจนเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นระบบโรงงาน เกิดการผลิตสินค้าคราวละมากๆ (Mass Production) สินค้าดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง เกิดกระแสบริโภคนิยมไปทั่วโลก

Industry 3.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เพราะอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ในโรงงานต่างๆ เกิดสายการผลิตแบบอัตโนมัติขึ้น เป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิตแทนที่แรงงานมนุษย์มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต

Industry 4.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet of Things (IoT) ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จุดเด่น คือ สามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง กล่าวคือ โรงงาน 4.0 จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย (Mass Customization) เป็นจำนวนมากในเวลาพริบตาเดียว

Thailand 4.0 คือ

Thailand 1.0 รัฐเน้นการลงทุนทางภาคเกษตรกรรมในสมัยนั้น เช่น ปศุสัตว์ พืชไร่ พืชสวน ส่วนการส่งออกในขณะนั้นยังเป็นแค่ข้าว ไม้สักและดีบุกเท่านั้นเอง

Thailand 2.0 รัฐเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเบาที่ต้องอาศัยแรงงานของคนจำนวนมาก เช่น ใช้แรงงานจำนวนมากแทน เช่น เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ

Thailand 3.0 รัฐเน้นลงทุนกับอุตสาหกรรมหนักรวมทั้งมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และขยับลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย

Thailand 4.0  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงด้วยการทำน้อยแต่ได้มาก ลดการพึ่งพาต่างชาติ ลดความเหลื่อมล้ำต่างๆ สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยการเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรมแทน ฉะนั้นทุกรูปแบบทักษะอาชีพที่เราถนัดรวมถึงความหลากหลายเชิงชีวภาพและความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม จะถูกเพิ่มคุณค่าและมูลค่าโดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเพื่อให้กลายมาเป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน”

อ้างอิงบทความ:

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf

https://en.wikipedia.org/wiki/Industry_4.0#Design_principles

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.